เป็นถ้ำจำลองจากธรรมชาติ ต้นแบบมาจากวัดโพธิ์ถือเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศ ถ้ำประกอบไปด้วย พระพุทธรูป ครูบาอาจารย์ด้านการแพทย์แผนไทย ได้แก่ รูปเหมือนบรมครูชีวกโกมารภัจจ์ รูปเหมือนพระฤๅษีต่างๆ โดยเฉพาะท่าฤๅษีดัดตน จำนวน 80 ท่า พื้นที่ภายใน นอกจากจะเป็นที่ศึกษาดูงาน ยังเป็นที่สำหรับใช้สวดมนต์ ทำสมาธิ และเรียกการฝึกกายบริหารแบบไทยท่าฤๅษีดัดตน
   เรื่องของประวัติศาสตร์การแพทย์แผนไทยนั้น เรื่องที่จะละเลย โดยไม่คำนึงถึงเลยไม่ได้คือ เรื่องของ ครูบาอาจารย์ เรียกได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญในการที่จะทำอะไร ก็ตาม คนไทยมักจะนิยมยกครู ไหว้ครู ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญ ครูแพทย์แผนไทยก็จะเหมือนกับครูสาขาอื่นๆ ของไทย กล่าวคือพระฤๅษี เปรียบเสมือนนักปราชญ์นักพรต ที่เข้าไป ทำงานในป่าในดง ไปศึกษาวิชาอาคม เมื่อศึกษาเป็นที่ ชัดเจน จนถ่องแท้ก็จะมีลูกศิษย์ไปเล่าเรียนด้วย กล่าวได้ว่า มหาวิทยาลัยของไทยแต่เดิมนั้นอยู่ในป่า อยู่ในชนบท ไม่ใช่ อยู่ในเมืองเหมือนอย่างทุกวันนี้ และเมื่อเราทบทวนในตำรับ ตำราต่างๆ พระคัมภีร์ต่างๆ จะพูดถึงพระฤๅษีต่างๆ ผู้รจนา คัมภีร์ หรือข้ออ้างอิงเป็นจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น ประวัติ ของยาเบญจกูล ก็ยังพูดถึงฤๅษี ถึง 9 ตน ได้แก่ มหาเถรตำแย พระอาจารย์ฤทธิยาธร พระฤๅษีอมรสิทธิดาบส พระฤๅษีนารท พระฤๅษีสัชนาลัย พระฤๅษีตาบัว พระฤๅษีตาไฟ พระฤๅษี กัสยะปะ พระฤๅษีสิงขะ พระฤๅษีประลัยโกฏิ พระอาจารย์ โรคามฤดินทร์ พระอาจารย์ชีวกโกมารภัจจ์ และพระอาจารย์ทางแพทย์ศาสตร์