มูลนิธิส่งเสริมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
Foundation for the Promotion of Thai Traditional and Alternative Medicine
ค้นหา........
หน้าหลัก
รู้จักมูลนิธิ
ความเป็นมา
วัตถุประสงค์
กรรมการ
เอกสารสำคัญ
กิจกรรมมูลนิธิ
กิจกรรมเผยแพร่ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยในวันสำคัญทางพุทธศาสนา
มหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ
โครงการต่างๆ
โครงการพัฒนาพิพิธภัณฑ์การสาธารณสุขฯ
พิพิธภัณฑ์
ความเป็นมา
ห้องนิทรรศการ
คลังภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย
คลังความรู้
e-Museum
ติดต่อมูลนิธิ
หน้าหลัก
รู้จักมูลนิธิ
ความเป็นมา
วัตถุประสงค์
กรรมการ
เอกสารสำคัญ
กิจกรรมมูลนิธิ
กิจกรรมเผยแพร่ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยในวันสำคัญทางพุทธศาสนา
มหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ
โครงการต่างๆ
โครงการพัฒนาพิพิธภัณฑ์การสาธารณสุขฯ
พิพิธภัณฑ์
ความเป็นมา
ห้องนิทรรศการ
คลังภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย
คลังความรู้
e-Museum
ติดต่อมูลนิธิ
© Copyright 2024
หอบรมครู
หอบรมครู
แสดงให้เห็นถึงความเชื่อเรื่องครูผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ และพิธีไหว้ครูของการแพทย์แผนไทย ซึ่งเป็นวัฒนธรรมอันดีงามของชาวไทยที่มีความกตัญญูรู้คุณครูบาอาจารย์
ภายในห้องแสดงให้เห็นถึง การบูชาครูและการไหว้ครู เครื่องไหว้ครูซึ่งถือเป็นพิธีกรรมและประเพณีที่ดีอันหนึ่งของสังคมไทยมาแต่โบราณ มีการสืบทอดมายาวนาน เพราะไม่ว่าการกระทำใดๆ ต้องอาศัยการเรียนรู้จากครูผู้ที่ได้รับความรู้จำต้องทำการบูชาครูเป็นพิธีกรรม อันเป็นการแสดงออกถึงความเคารพนอบน้อมความกตัญญูรู้คุณของผู้เป็นศิษย์ และการระลึกถึงพระคุณของครูบาอาจารย์ผู้สั่งสอนและให้สรรพวิทยาการ และยังเป็นกุศโลบายอันชาญฉลาดของบรรพชนไทยในการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างครูกับศิษย์ เพื่อนร่วมวิชาชีพ ก่อให้เกิดความรักความสามัคคีของหมู่คณะนำความสวัสดิมงคลมาสู่ตนเองและส่วนรวม
ครู หมายถึง ผู้ทำหน้าที่สั่งสอนศิษย์ ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ ในโบราณกาล ครูจึงเป็นบุคคลที่ควร แก่ความเคารพ กราบไหว้ นับเป็นผู้ที่มีพระคุณต่อชีวิต รองลงมาจากบุพการีผู้ให้กำเนิด
ครูบาอาจารย์ทางการแพทย์แผนไทย จึงอาจแบ่งออก เป็น 2 ประเภท คือ ครูที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และครูที่เป็นบุคคลที่เสียชีวิตไปแล้วและได้รับการเคารพนับถือจากคนในวงการแพทย์ ดังนี้
ครูประเภทที่ 1 ได้แก่ พระฤๅษีต่างๆ ที่แต่เดิมเชื่อว่าครูทั้งหลายนั้นเป็นนักบวชนักพรตที่บำเพ็ญเพียรอยู่ตามป่าเขาลำเนาไพร ซึ่งเป็นผู้ค้นพบคุณค่ายาสมุนไพรต่างๆ
ครูประเภทที่ 2 ได้แก่ แพทย์แผนโบราณของไทยที่ได้ทำคุณประโยชน์ต่อวงการแพทย์แผนไทย ซึ่งส่วนใหญ่ได้เสียชีวิตไปแล้ว เช่น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 1) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (หมอพร) ขุนอุดมโอสถ (หมอเพ็ชร แพทยานนท์) หมื่นชำนาญแพทยา (หมอพลอย) เป็นต้น
ในทางการแพทย์แผนไทยก็เช่นเดียวกับวงการศิลปะวิทยาการไทยแขนงอื่นๆ ถือว่าการไหว้ครูเป็นพิธีอันเป็นมงคลยิ่ง โดยกำหนดให้มีพิธีไหว้ครูในเดือน 6 หรือเดือน 9 ของทุกปี
พิธีการไหว้ครูแพทย์แผนไทยมีรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละสำนักเช่น เครื่องเซ่นไหว้ โองการไหว้ ครู และระยะเวลาในการจัดพิธีเป็นต้น แต่ต่างก็มีจุดมุ่งหมายประการเดียวกันคือ เป็นการรำลึกถึงพระคุณของบูรพคณาจารย์ ทางการแพทย์แผนไทยและสร้างสมานฉันท์ในเพื่อนร่วมวิชาชีพเดียวกัน
เดิมนั้นเชื่อกันว่า ครูของการแพทย์แผนไทยแต่โบราณนั้น คือ พระฤๅษี ทั้งหลาย ซึ่งเป็นผู้ค้นพบยาสมุนไพรต่างๆ อันประกอบ ด้วย พระฤๅษีอมรประสิทธิ์ พระฤๅษีนารถ พระฤๅษี สัชนาลัย พระฤๅษีตาไฟ พระฤๅษี ตาวัว พระฤๅษีกัศยปะ พระฤๅษีสิงขะ พระฤๅษีกไลยโกฐ และจากการสืบทอด พระพุทธศาสนาในเวลา ต่อมา จึงได้บูชาแพทย์ประจำ พระองค์ของพระพุทธเจ้า คือ พระครูชีวกโกมารภัจจ์ เป็นพระครูอีกท่านหนึ่ง
แสดงให้เห็นถึงความเชื่อเรื่องครูผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ และพิธีไหว้ครูของการแพทย์แผนไทย ซึ่งเป็นวัฒนธรรมอันดีงามของชาวไทยที่มีความกตัญญูรู้คุณครูบาอาจารย์
อ่านเพิ่มเติม
อ่านเพิ่มเติม
We use cookies from third party services for marketing activities to offer you a better experience.
Accept and close